วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดาราศาสตร์
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์

สร้างชื่ออีกแล้ว  โดย นักเรียน คือ นางสาวเยาวรัตน์  มโนมัย และนางสาวเบญจวรรณ  หิรัญโกย  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1  พร้อมครูที่ปรึกษา ครูวิลาพร  อารักษ์  นำผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง  จานทวิสผลิตพลังงานไฟฟ้าในภาวะฉุกเฉิน  เข้าร่วมนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ตามคำเชิญของสำนักงานพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ โรงแรมเอเชียร์ แอร์พอร์ท  ศูนย์การค้าเชียร์รังสิต  จังหวัดปทุมธานี ระหว่างวันที่ 25  27 เดือนมีนาคม  พ.ศ.2555  และผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ จานทวิสผลิตพลังงานไฟฟ้าในภาวะฉุกเฉินของโรงเรียนคลองลานวิทยา และเป็นผลงานชิ้นเดียวในจังหวัดกำแพงเพชร  ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 50 ผลงาน จากจำนวนผลงานทั้งหมดที่ได้คำเชิญ 150 ผลงานจากทั่วประเทศ  ให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในเวทีนานาชาติ  (8th INTERNATIONAL EXHIBITION FOR YOUNG INVENTORS (IEYI - 2012) Bangkok ) ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2555  นี้

วิทยาศาสตร์

ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงใน มีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ดาวศุกร์เคลื่อนมาอยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือที่เรียกว่าการร่วมทิศแนววงใน (inferior conjunction) เฉลี่ยทุก ๆ 584 วัน (ประมาณ 1 ปี 7 เดือน) แต่ไม่เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ทุกครั้ง เนื่องจากระนาบวงโคจรของดาวศุกร์ไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกับระนาบวงโคจรของโลก แต่ทำมุมเอียงประมาณ 3.4° ช่วงที่มีโอกาสจะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้ จึงต้องเป็นช่วงที่เกิดการร่วมทิศแนววงในตรงบริเวณใกล้จุดตัดระหว่างระนาบทั้งสอง ซึ่งมี 2 จุด จุดที่ดาวศุกร์เคลื่อนจากใต้ระนาบวงโคจรของโลกขึ้นมาเหนือระนาบดังกล่าว เรียกว่าจุดโหนดขึ้น (ascending node) อีกจุดหนึ่งอยู่ตรงข้าม เป็นจุดที่ดาวศุกร์เคลื่อนจากเหนือระนาบวงโคจรของโลกลงไปใต้ระนาบ เรียกว่าจุดโหนดลง (descending node)

เมื่อเกิดการผ่านหน้า ดาวศุกร์จะปรากฏเป็นดวงกลมดำขนาดเล็กบนผิวหน้าดวงอาทิตย์ แม้จะเล็ก แต่ก็ใหญ่พอที่จะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าในยามที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ขอบฟ้า หรือเมื่อมองผ่านแผ่นกรองแสงในเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่สูงบนท้องฟ้า ยุคปัจจุบัน ดาวศุกร์มีโอกาสผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้เฉพาะในเดือนมิถุนายนและธันวาคมเท่านั้น ซึ่งเป็นจังหวะที่ดาวศุกร์โคจรผ่านใกล้จุดโหนดลงและจุดโหนดขึ้น ตามลำดับ หากย้อนไปในอดีต 4,000 ปี ดาวศุกร์มีจุดโหนดอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของจุดโหนดในปัจจุบัน สมัยนั้น ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์มีโอกาสเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เกิดเป็นคู่ ห่างกัน 8 ปี เมื่อเกิดที่จุดโหนดขึ้นคู่หนึ่งแล้ว จะเว้นระยะไป 105.5 ปี จึงเกิดที่จุดโหนดลงอีกคู่หนึ่ง จากนั้นเว้นระยะไปอีก 121.5 ปี จึงกลับมาเกิดที่จุดโหนดขึ้น เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ตลอดไป จึงแบ่งเป็นชุด ๆ ได้ในลักษณะเดียวกับซารอส (saros) ของอุปราคา